วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6835 ข่าวสดรายวัน
อาจารีย์ เอมชุ่มรส
การเดินทางของทีมงานรายการพันแสงรุ้ง แต่ละครั้งนอกจากจะเก็บเกี่ยวข้อมูลและประสบการณ์ เพื่อถ่ายทอดบอกเล่าเรื่องราวของพี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์ร่วมผืนแผ่นดินผ่านสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยแล้ว ยังเป็นโอกาสให้ได้พบเจอ เปิดใจ และเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ของวิถีปฏิบัติทางศาสนา ของเหล่าพี่น้องชาวกะเหรี่ยง ในประเทศไทยมีกะเหรี่ยงหลายกลุ่ม แต่กลุ่มหลักๆ คือ "กะเหรี่ยงสะกอ" หรือ "ปกาเกอะญอ" "ปกาเกอะญอ" เป็นคนไทยภูเขากลุ่มใหญ่สุดในประเทศ มีอัตลักษณ์เด่นชัดเรื่องเคารพธรรมชาติ ใช้ไม้เคารพป่าไม้ ใช้น้ำเคารพแหล่งน้ำ เพราะความอ่อนน้อมของปกาเกอะญอต่อสรรพสิ่ง ทำให้การนับถืออำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นหลักยึดให้กับชีวิตและจิตวิญญาณของบรรพชนมานับพันปี ถ่ายทอดผ่านประเพณี พิธีกรรม คำสอน และหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิตรุ่นแล้วรุ่นเล่า
แต่หลังจากโลกเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสมัยใหม่ ปกาเกอะญอต้องเผชิญปัญหาในยุคล่าอาณานิคมจากตะวันตก การครอบงำจากนครรัฐสมัยใหม่ อยู่ท่ามกลางอำนาจของพม่า สยาม อังกฤษ พร้อมๆ กับการแย่งชิงทรัพยากรสินแร่และป่าไม้ ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ในดินแดนบรรพชน ละแวกแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำเมย รวมทั้งการเดินทางมาถึงของศาสนาใหม่ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ โดยคณะมิชชันนารี นำไปสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ที่คน ปกาเกอะญอต้องคิดทบทวน และเลือกตัดสินใจในหนทางของตน
ศาสนาคริสต์เข้ามาไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคแรกเป็นพิธีกรรมทางศาสนากันในกลุ่มคนต่างชาติ และค่อยๆ มีคนไทยหันมานับถือศาสนาคริสต์ในพื้นที่ต่างๆ แต่การเผยแพร่คริสต์ศาสนาไปยังผู้คนแถบเทือกเขา โดยเฉพาะในกลุ่มกะเหรี่ยงต่างๆ เกิดขึ้นในช่วง 100 กว่าปีมานี้เอง
ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ เข้ามาถึงปกาเกอะญอในภาคเหนือ เนื่องจากความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างปกาเกอะญอฝั่งไทยกับพม่า ที่เดินทางไปมาหาสู่เหนือเขตพรมแดน ทางคณะมิชชันนารีได้เดินทางนำคำสอน การศึกษา และสาธารณสุข เข้าไปสู่ชนเผ่าห่างไกล เป็นจุดเริ่มต้นเปิดรับศรัทธาและความเชื่อใหม่ของปกาเกอะญอ
ศาสนาจารย์ซันนี แดนพงพี เลขาธิการคณะคริสตจักรกะเหรี่ยงแบ๊บติสท์ เล่าว่า การแพร่ธรรมสู่ปกาเกอะญอในยุคแรก ผ่านในรูปของนิทาน หรือกลอนของชาวกะเหรี่ยง เรียกว่า "ทา" กล่าวถึงพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่าพระเจ้า ทำให้พี่น้องปกาเกอะญอเปิดใจ นับถือศรัทธาพระเจ้าในศาสนาคริสต์ และนำมาประยุกต์เข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของบรรพชน ปัจจุบันปกาเกอะญอประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาพุทธและอำนาจเหนือธรรมชาติ แต่แนวโน้มของการปรับเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ทั้งนิกายโรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์ ยังคงเพิ่มสูงขึ้น รวมกว่า 30,000 คน
ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง ผู้เชี่ยวชาญด้านชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ทรรศนะว่า ระบบศาสนาดั้งเดิมนับถืออำนาจเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะพิธีกรรมที่จะต้องให้ลูกหลานคนในตระกูลอยู่พร้อมหน้า มีพิธีล้มหมู เซ่นสังเวยต่างๆ พร้อมๆ กับการมาถึงของชีวิตแบบโลกสมัยใหม่ ทำให้ศาสนาดั้งเดิมเริ่มไม่ตอบสนองต่อชีวิต ปรับตัวไม่ได้ เมื่อปรับยากจึงต้องเปลี่ยนกรอบความคิดเป็นระบบใหม่ ความเป็นจริงในวันนี้คือ ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ต้องเข้าสู่วิถีแห่งโลกสมัยใหม่
ด้านคุณยายกริปอย วัย 78 ปี แม่เฒ่าปกาเกอะญอแห่งบ้านดอกแดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ คนรุ่นแรกที่เปลี่ยนมาเป็นนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เล่าถึงสาเหตุตัดสินใจครั้งสำคัญว่า
"ลูกหลานต้องเดินทางไปเรียนในเมือง ไม่สามารถกลับมาร่วมพิธีสำคัญภายในครอบครัวได้ โดยเฉพาะพิธีเอาะบกา หรือพิธีกินเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างวงศาคณาญาติ ที่สมาชิกทุกคนต้องอยู่ร่วม หากไม่ครบจะเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นกับคนในครอบครัว อีกทั้งของเซ่นไหว้ที่ใช้ในแต่ละครั้ง เป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เมื่อมิชชันนารีเดินทางเข้ามาถึงหมู่บ้านในช่วงเกือบ 50 ปีที่แล้ว จึงตัดสินใจเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ และไม่ประกอบพิธีเซ่นไหว้ผีอีกเลย"
ถึงวันนี้ หมู่บ้านปกาเกอะญอส่วนใหญ่อยู่ร่วมกันทั้งศาสนาดั้งเดิม พุทธ และคริสต์ สำหรับปกาเกอะญอคริสต์ แม้ต้องละทิ้งการปฏิบัติด้านพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวกับการเซ่นไหว้ผี แต่หลายพื้นที่ทางทีมงานยังได้พบการผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมกับพิธีกรรมของคริสต์ที่ศูนย์อบรมเด็กชาวไทยภูเขาบ้านแม่ปอน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ทีมงานได้เห็นภาพซิสเตอร์พาเด็กๆ ไปปักไม้กางเขน และสวดภาวนาริมคันนา เพื่อให้พืชพันธุ์ออกผลงอกงามดี
ระหว่างการเดินทางสำรวจข้อมูลในพื้นที่ ทีมงานได้พบกับความแตกต่างที่อยู่ร่วมกันในงานแต่งงาน ระหว่างสตรีชาวปกาเกอะญอที่นับถือศาสนาดั้งเดิม กับหนุ่มปกาเกอะญอคริสต์ นิกายคาทอลิก ที่บ้านห้วยข้าวลีบ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ งานจัดขึ้นที่บ้านเจ้าสาว มีขั้นตอนการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิญญาณบรรพบุรุษ และดื่มเหล้าแบบพิธีดั้งเดิม แต่บาทหลวงให้ศีลและประกอบพิธีแลกแหวนแต่งงานแบบคริสต์ การอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนเอง ถึงแม้แต่ละครอบครัวจะมีศรัทธาความเชื่อที่เคารพนับถือแตกต่างกัน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ในชุมชนลดลงตามไปด้วย ปกาเกอะญอคริสต์คาทอลิก หลายครอบครัวยังคงต้มเหล้าพื้นบ้าน เพื่อร่วมกันดื่มกินกับคนในชุมชนที่มาช่วยเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว
"ชิ"สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ปกาเกอะญอนักพัฒนารุ่นใหม่ แสดงความกังวลในเรื่ององค์ความรู้ดั้งเดิมที่อาจหายไป เช่น สมุนไพรที่เป็นภูมิปัญญาการรักษาโรคของปกาเกอะญอถูกลดค่าลงจากการรับเอายาแผนปัจจุบันเข้ามาแทนที่ หากผู้รับศาสนาไม่เข้าใจว่าการเป็นคริสเตียนที่แท้จริง คือการเติมเต็มสิ่งที่มีอยู่เดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มิใช่การละทิ้งสิ่งที่เป็นสมบัติของชาติพันธุ์
"ผมอยากให้ชาวปกาเกอะญอคริสต์ที่ศรัทธาอย่างแท้จริง เป็นคริสต์ที่เกิดจากการเข้าใจคริสต์จริงๆ ถ้าเราไม่เข้าใจ ทำให้เราเป็นอะไรก็ไม่รู้ ฝรั่งก็ไม่ใช่ ปกาเกอะญอก็ไม่ใช่ ไปไม่ได้ อยู่ก็ไม่มีความสุข คนที่จะเป็นคริสต์ขอให้เป็นคริสต์แบบคนปกาเกอะญอ"เช่นเดียวกับศาสนาจารย์ซันนี แดนพงพี เลขาธิการคณะคริสตจักรกะเหรี่ยงแบ๊บติสท์ ให้ทรรศนะแทนปกาเกอะญอคริสต์ โปรเตสแตนต์ ว่า อยากให้นำการอื่อทาของคนปกาเกอะญอกลับมารื้อฟื้นใหม่ เพราะไม่ได้เกี่ยวกับศาสนา แต่เป็นวิถีชีวิตที่สามารถเล่าสู่คนรุ่นต่อไปได้
เรื่องราวของพี่น้องปกาเกอะญอนับถือศาสนาคริสต์ ถ่ายทอดผ่านรายการ "พันแสงรุ้ง" ในสารคดีชุดศรัทธาของปกาเกอะญอ ทั้งปกาเกอะญอคริสต์ นิกายคาทอลิก และโปรเตสแตนต์ มีทั้งหมด 3 ตอน วันอาทิตย์ที่ 16 ส.ค.นี้ ตอน "พลังแห่งศรัทธา" ที่สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
Friday, August 28, 2009
Tuesday, August 25, 2009
“ก้าวสำคัญของสภาศาสนสัมพันธ์กับงานเสริมสร้างสันติภาพในประเทศไทย”
หลังจากการประชุมจัดตั้ง “สภาศาสนสัมพันธ์เพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้” (Inter-religious Council for Peace in Southern Thailand) เรียกชื่อย่อว่า IRC (Thailand) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 ซึ่งเวลาผ่านไปได้ประมาณ 2 เดือนแล้วนั้น ในระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมพบปะกันระหว่างคณะกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการดำเนินงานทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่อย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุมอิมนุลคอลดุล วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
การประชุมในวันแรก ได้มีการพิจารณาวัตถุประสงค์ของสภาฯ ให้รัดกุมขึ้น กล่าวคือ นอกเหนือจากการส่งเสริมความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความเข้าใจ ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา ที่ประชุมได้เน้นบทบาทของการเสนอแนวทางสร้างสรรค์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้และในสังคม ตลอดจนการเน้นการศึกษาและการนำหลักศาสนามาใช้ให้เป็นพลังในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ขยายขอบเขตพื้นที่การดำเนินงานของสภาฯ ให้ครอบคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง และรวมถึงพื้นที่อื่นที่สามารถประกอบกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสภาฯ ในระดับประเทศและนานาชาติด้วย จึงเห็นได้ว่า กิจกรรมของสภาฯ จะขยายให้กว้างขึ้นในระดับการนำสันติภาพและการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศด้วย ดังนั้น งานของสภาฯ ในปลายปีนี้ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสานเสวนาระหว่าง IRC (Srilanka) กับ IRC (Thailand) และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากประสบการณ์ สถานการณ์ และบทเรียนของแต่ละฝ่ายที่จะนำสันติภาพมาสู่สังคม การประชุมแลกเปลี่ยนครั้งนี้ จะเป็นการเปิดตัวสภาฯ อย่างเป็นทางการในระดับชาติและเป็นการสื่อสารกับสังคมในประเด็นสันติภาพอีกด้วย
งบประมาณของการดำเนินงานของสภาฯนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก WCRP (The World Conference of Religions for Peace) ที่ประชุมเสนอให้ขอทุนสนับสนุนจากเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย เพื่อการมีส่วนร่วมกับงานของสภาฯ สภาฯจะมีสถานภาพในฐานะเป็นสาขาหนึ่งของ WCRP โดยมีศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสำนักงานและทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการ สภาฯจะไม่ดำเนินงานในรูปแบบมูลนิธิเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเป็นอิสระในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านสันติภาพให้มากที่สุด
งานของสภาฯมุ่งเน้นในการทำกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายที่ทำงานทางศาสนาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับทุกศาสนา โดยรวมทั้งผู้นำศาสนา เยาวชน สตรี ฯลฯ ร่วมเรียนรู้ร่วมกันระหว่างศาสนา ในการนี้ สภาฯวางแผนที่จะสื่อสารกับสังคมที่สะท้อนความเข้าใจระหว่างศาสนาเพื่อสันติภาพ ในรูปของสิ่งพิมพ์ และเอกสารตำราในโอกาสต่อไป
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ที่ประชุมสภาฯได้พิจารณา ได้แก่ การปฏิบัติการในการสื่อสารกับสังคมอย่างทันท่วงที เพื่อขจัดอคติและความเข้าใจผิดที่อาจมีกลุ่มบุคคลใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือให้เกิดความแตกแยก ความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน เช่น ในกรณีที่มีการล่วงเกินต่อศาสนสถาน ศาสนวัตถุและศาสนบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า สภาศาสนสัมพันธ์จะใช้เครือข่ายในชุมชนเพื่อตรวจสอบข่าวเหตุการณ์ การให้ข่าว ให้ข้อเท็จจริงจากพื้นที่ให้มากที่สุด และนำเสนอกรรมการสภาฯเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างศาสนาให้มีการสื่อสารต่อสังคมฯ อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดความหวาดระแวงระหว่างศาสนา จนอาจกลายเป็นความรุนแรงระหว่างศาสนาได้ในที่สุด
กิจกรรมของสภาฯภายหลังการเสร็จสิ้นการประชุมในวันแรกนี้ คือ การเดินทางไปเยี่ยมเยียนพบปะพูดคุยกับพระสงฆ์และชาวบ้านผู้ประสบเหตุการณ์ความรุนแรง ณ วัดคลองทรายใน หมู่ 5 ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา ณ ชุมชนชาวพุทธแห่งนั้น กรรมการของสภาฯ จากศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกซ์ ได้แนะนำตัวและวัตถุประสงค์ในการมาเยี่ยมเยียน พร้อมกับให้กำลังใจและผนึกพลังให้ชาวบ้านและพระสงฆ์ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงได้มั่นใจว่า บุคคลากรทางศาสนาจะไม่ทอดทิ้งและจะร่วมมือกันเพื่อใช้วิถีทางทางศาสนาของตนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง ให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินของชุมชนศาสนาให้มากที่สุด
หลังจากนั้น พระสมุห์คล่อง เจ้าอาวาสวัดคลองทรายใน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านได้เล่าถึงความเป็นมาของชุมชนพุทธแห่งนี้ ตลอดจนความรุนแรงและผลกระทบที่ได้รับ มีคำถามจากชาวบ้านที่ถามกรรมการสภาฯ ที่สะท้อนความกังวลของชุมชนว่าสันติภาพคืออะไร ทำอย่างไรชุมชนที่เคยสงบสุขจะปลอดภัยจากความรุนแรงเช่นนี้ได้
การประชุมในวันแรก ได้มีการพิจารณาวัตถุประสงค์ของสภาฯ ให้รัดกุมขึ้น กล่าวคือ นอกเหนือจากการส่งเสริมความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความเข้าใจ ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา ที่ประชุมได้เน้นบทบาทของการเสนอแนวทางสร้างสรรค์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้และในสังคม ตลอดจนการเน้นการศึกษาและการนำหลักศาสนามาใช้ให้เป็นพลังในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ขยายขอบเขตพื้นที่การดำเนินงานของสภาฯ ให้ครอบคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง และรวมถึงพื้นที่อื่นที่สามารถประกอบกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสภาฯ ในระดับประเทศและนานาชาติด้วย จึงเห็นได้ว่า กิจกรรมของสภาฯ จะขยายให้กว้างขึ้นในระดับการนำสันติภาพและการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศด้วย ดังนั้น งานของสภาฯ ในปลายปีนี้ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสานเสวนาระหว่าง IRC (Srilanka) กับ IRC (Thailand) และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากประสบการณ์ สถานการณ์ และบทเรียนของแต่ละฝ่ายที่จะนำสันติภาพมาสู่สังคม การประชุมแลกเปลี่ยนครั้งนี้ จะเป็นการเปิดตัวสภาฯ อย่างเป็นทางการในระดับชาติและเป็นการสื่อสารกับสังคมในประเด็นสันติภาพอีกด้วย
งบประมาณของการดำเนินงานของสภาฯนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก WCRP (The World Conference of Religions for Peace) ที่ประชุมเสนอให้ขอทุนสนับสนุนจากเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย เพื่อการมีส่วนร่วมกับงานของสภาฯ สภาฯจะมีสถานภาพในฐานะเป็นสาขาหนึ่งของ WCRP โดยมีศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสำนักงานและทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการ สภาฯจะไม่ดำเนินงานในรูปแบบมูลนิธิเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเป็นอิสระในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านสันติภาพให้มากที่สุด
งานของสภาฯมุ่งเน้นในการทำกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายที่ทำงานทางศาสนาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับทุกศาสนา โดยรวมทั้งผู้นำศาสนา เยาวชน สตรี ฯลฯ ร่วมเรียนรู้ร่วมกันระหว่างศาสนา ในการนี้ สภาฯวางแผนที่จะสื่อสารกับสังคมที่สะท้อนความเข้าใจระหว่างศาสนาเพื่อสันติภาพ ในรูปของสิ่งพิมพ์ และเอกสารตำราในโอกาสต่อไป
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ที่ประชุมสภาฯได้พิจารณา ได้แก่ การปฏิบัติการในการสื่อสารกับสังคมอย่างทันท่วงที เพื่อขจัดอคติและความเข้าใจผิดที่อาจมีกลุ่มบุคคลใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือให้เกิดความแตกแยก ความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน เช่น ในกรณีที่มีการล่วงเกินต่อศาสนสถาน ศาสนวัตถุและศาสนบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า สภาศาสนสัมพันธ์จะใช้เครือข่ายในชุมชนเพื่อตรวจสอบข่าวเหตุการณ์ การให้ข่าว ให้ข้อเท็จจริงจากพื้นที่ให้มากที่สุด และนำเสนอกรรมการสภาฯเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างศาสนาให้มีการสื่อสารต่อสังคมฯ อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดความหวาดระแวงระหว่างศาสนา จนอาจกลายเป็นความรุนแรงระหว่างศาสนาได้ในที่สุด
กิจกรรมของสภาฯภายหลังการเสร็จสิ้นการประชุมในวันแรกนี้ คือ การเดินทางไปเยี่ยมเยียนพบปะพูดคุยกับพระสงฆ์และชาวบ้านผู้ประสบเหตุการณ์ความรุนแรง ณ วัดคลองทรายใน หมู่ 5 ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา ณ ชุมชนชาวพุทธแห่งนั้น กรรมการของสภาฯ จากศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกซ์ ได้แนะนำตัวและวัตถุประสงค์ในการมาเยี่ยมเยียน พร้อมกับให้กำลังใจและผนึกพลังให้ชาวบ้านและพระสงฆ์ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงได้มั่นใจว่า บุคคลากรทางศาสนาจะไม่ทอดทิ้งและจะร่วมมือกันเพื่อใช้วิถีทางทางศาสนาของตนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง ให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินของชุมชนศาสนาให้มากที่สุด
หลังจากนั้น พระสมุห์คล่อง เจ้าอาวาสวัดคลองทรายใน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านได้เล่าถึงความเป็นมาของชุมชนพุทธแห่งนี้ ตลอดจนความรุนแรงและผลกระทบที่ได้รับ มีคำถามจากชาวบ้านที่ถามกรรมการสภาฯ ที่สะท้อนความกังวลของชุมชนว่าสันติภาพคืออะไร ทำอย่างไรชุมชนที่เคยสงบสุขจะปลอดภัยจากความรุนแรงเช่นนี้ได้
ในวันรุ่งขึ้น กรรมการสภาฯได้เดินทางไปเยี่ยมพี่น้องมุสลิม ณ มัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ได้พบกับคอเต็บ ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน กลุ่มผู้หญิงที่สามีและบุคคลในครอบครัวถูกฆ่าตายขณะทำละหมาด และผู้บาดเจ็บที่ถือไม้เท้ามาร่วมพูดคุยกับกรรมการสภาฯ ในวันนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยการให้กำลังใจ และการยกคำสอน คำแนะนำของแต่ละศาสนามาเป็นแง่คิดให้ทุกคน อดทน มั่นคง เพื่อแสดงความศรัทธาต่อคำสอนของศาสนาของตน ชาวบ้านหลายคนได้สื่อสารด้วยภาษามลายูจากใจเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของตน
การยี่ยมเยียนชุมชนศาสนาทั้งสองแห่งนี้ ถือเป็นภารกิจหลัก และเป็นกิจกรรมสำคัญของสภาศาสนสัมพันธ์ที่ลงพื้นที่เพื่อ “ฟังด้วยใจ” เพื่อก้าวพ้นความแตกต่างในทางศาสนา และเพื่อส่งสัญญาณของความร่วมมือระหว่างศาสนาที่พวกเราจะไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อมีการก้าวล่วงความปลอดภัยของศาสนชุมชนทั้งหลาย กรรมการสภาฯได้นำเงินจำนวนหนึ่งมอบให้ชุมชนทั้งสองแห่งเพื่อเป็นกำลังใจในเบื้องต้น กำลังหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ของ จ.ยะลาและนราธิวาสได้ร่วมต้อนรับคณะกรรมการสภาฯด้วยความเข้มแข็ง พวกเราขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ความมือร่วมใจของผู้นำศาสนาและศาสนิกชนของหลายๆ ศาสนาที่ร่วมทำงานในนามของสภาศาสนสัมพันธ์นี้ เป็นการเริ่มต้นของ “จิตอาสา” ที่พร้อมที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงอคติระหว่างกันให้มากขึ้น สังเกตได้จากบรรยากาศการพูดคุยในระหว่างการเยี่ยมเยียนชุมชนทั้งสองเป็นไปด้วยความผ่อนคลาย และเป็นกันเองของผู้คนที่มาจากความเชื่อต่างกัน แต่เขาเหล่านั้นได้แสดง “การเคารพต่อความเป็นมนุษย์ผู้มีความแตกต่าง” ของกันและกัน เพื่อร่วมทำงานนำสันติสุขมาสู่สังคมไทยอีกช่องทางหนึ่ง
การยี่ยมเยียนชุมชนศาสนาทั้งสองแห่งนี้ ถือเป็นภารกิจหลัก และเป็นกิจกรรมสำคัญของสภาศาสนสัมพันธ์ที่ลงพื้นที่เพื่อ “ฟังด้วยใจ” เพื่อก้าวพ้นความแตกต่างในทางศาสนา และเพื่อส่งสัญญาณของความร่วมมือระหว่างศาสนาที่พวกเราจะไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อมีการก้าวล่วงความปลอดภัยของศาสนชุมชนทั้งหลาย กรรมการสภาฯได้นำเงินจำนวนหนึ่งมอบให้ชุมชนทั้งสองแห่งเพื่อเป็นกำลังใจในเบื้องต้น กำลังหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ของ จ.ยะลาและนราธิวาสได้ร่วมต้อนรับคณะกรรมการสภาฯด้วยความเข้มแข็ง พวกเราขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ความมือร่วมใจของผู้นำศาสนาและศาสนิกชนของหลายๆ ศาสนาที่ร่วมทำงานในนามของสภาศาสนสัมพันธ์นี้ เป็นการเริ่มต้นของ “จิตอาสา” ที่พร้อมที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงอคติระหว่างกันให้มากขึ้น สังเกตได้จากบรรยากาศการพูดคุยในระหว่างการเยี่ยมเยียนชุมชนทั้งสองเป็นไปด้วยความผ่อนคลาย และเป็นกันเองของผู้คนที่มาจากความเชื่อต่างกัน แต่เขาเหล่านั้นได้แสดง “การเคารพต่อความเป็นมนุษย์ผู้มีความแตกต่าง” ของกันและกัน เพื่อร่วมทำงานนำสันติสุขมาสู่สังคมไทยอีกช่องทางหนึ่ง
Subscribe to:
Posts (Atom)