หลังจากการประชุมจัดตั้ง “สภาศาสนสัมพันธ์เพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้” (Inter-religious Council for Peace in Southern Thailand) เรียกชื่อย่อว่า IRC (Thailand) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 ซึ่งเวลาผ่านไปได้ประมาณ 2 เดือนแล้วนั้น ในระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมพบปะกันระหว่างคณะกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการดำเนินงานทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่อย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุมอิมนุลคอลดุล วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
การประชุมในวันแรก ได้มีการพิจารณาวัตถุประสงค์ของสภาฯ ให้รัดกุมขึ้น กล่าวคือ นอกเหนือจากการส่งเสริมความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความเข้าใจ ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา ที่ประชุมได้เน้นบทบาทของการเสนอแนวทางสร้างสรรค์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้และในสังคม ตลอดจนการเน้นการศึกษาและการนำหลักศาสนามาใช้ให้เป็นพลังในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ขยายขอบเขตพื้นที่การดำเนินงานของสภาฯ ให้ครอบคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง และรวมถึงพื้นที่อื่นที่สามารถประกอบกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสภาฯ ในระดับประเทศและนานาชาติด้วย จึงเห็นได้ว่า กิจกรรมของสภาฯ จะขยายให้กว้างขึ้นในระดับการนำสันติภาพและการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศด้วย ดังนั้น งานของสภาฯ ในปลายปีนี้ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสานเสวนาระหว่าง IRC (Srilanka) กับ IRC (Thailand) และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากประสบการณ์ สถานการณ์ และบทเรียนของแต่ละฝ่ายที่จะนำสันติภาพมาสู่สังคม การประชุมแลกเปลี่ยนครั้งนี้ จะเป็นการเปิดตัวสภาฯ อย่างเป็นทางการในระดับชาติและเป็นการสื่อสารกับสังคมในประเด็นสันติภาพอีกด้วย
งบประมาณของการดำเนินงานของสภาฯนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก WCRP (The World Conference of Religions for Peace) ที่ประชุมเสนอให้ขอทุนสนับสนุนจากเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย เพื่อการมีส่วนร่วมกับงานของสภาฯ สภาฯจะมีสถานภาพในฐานะเป็นสาขาหนึ่งของ WCRP โดยมีศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสำนักงานและทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการ สภาฯจะไม่ดำเนินงานในรูปแบบมูลนิธิเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเป็นอิสระในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านสันติภาพให้มากที่สุด
งานของสภาฯมุ่งเน้นในการทำกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายที่ทำงานทางศาสนาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับทุกศาสนา โดยรวมทั้งผู้นำศาสนา เยาวชน สตรี ฯลฯ ร่วมเรียนรู้ร่วมกันระหว่างศาสนา ในการนี้ สภาฯวางแผนที่จะสื่อสารกับสังคมที่สะท้อนความเข้าใจระหว่างศาสนาเพื่อสันติภาพ ในรูปของสิ่งพิมพ์ และเอกสารตำราในโอกาสต่อไป
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ที่ประชุมสภาฯได้พิจารณา ได้แก่ การปฏิบัติการในการสื่อสารกับสังคมอย่างทันท่วงที เพื่อขจัดอคติและความเข้าใจผิดที่อาจมีกลุ่มบุคคลใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือให้เกิดความแตกแยก ความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน เช่น ในกรณีที่มีการล่วงเกินต่อศาสนสถาน ศาสนวัตถุและศาสนบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า สภาศาสนสัมพันธ์จะใช้เครือข่ายในชุมชนเพื่อตรวจสอบข่าวเหตุการณ์ การให้ข่าว ให้ข้อเท็จจริงจากพื้นที่ให้มากที่สุด และนำเสนอกรรมการสภาฯเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างศาสนาให้มีการสื่อสารต่อสังคมฯ อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดความหวาดระแวงระหว่างศาสนา จนอาจกลายเป็นความรุนแรงระหว่างศาสนาได้ในที่สุด
กิจกรรมของสภาฯภายหลังการเสร็จสิ้นการประชุมในวันแรกนี้ คือ การเดินทางไปเยี่ยมเยียนพบปะพูดคุยกับพระสงฆ์และชาวบ้านผู้ประสบเหตุการณ์ความรุนแรง ณ วัดคลองทรายใน หมู่ 5 ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา ณ ชุมชนชาวพุทธแห่งนั้น กรรมการของสภาฯ จากศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกซ์ ได้แนะนำตัวและวัตถุประสงค์ในการมาเยี่ยมเยียน พร้อมกับให้กำลังใจและผนึกพลังให้ชาวบ้านและพระสงฆ์ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงได้มั่นใจว่า บุคคลากรทางศาสนาจะไม่ทอดทิ้งและจะร่วมมือกันเพื่อใช้วิถีทางทางศาสนาของตนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง ให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินของชุมชนศาสนาให้มากที่สุด
หลังจากนั้น พระสมุห์คล่อง เจ้าอาวาสวัดคลองทรายใน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านได้เล่าถึงความเป็นมาของชุมชนพุทธแห่งนี้ ตลอดจนความรุนแรงและผลกระทบที่ได้รับ มีคำถามจากชาวบ้านที่ถามกรรมการสภาฯ ที่สะท้อนความกังวลของชุมชนว่าสันติภาพคืออะไร ทำอย่างไรชุมชนที่เคยสงบสุขจะปลอดภัยจากความรุนแรงเช่นนี้ได้
การประชุมในวันแรก ได้มีการพิจารณาวัตถุประสงค์ของสภาฯ ให้รัดกุมขึ้น กล่าวคือ นอกเหนือจากการส่งเสริมความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความเข้าใจ ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา ที่ประชุมได้เน้นบทบาทของการเสนอแนวทางสร้างสรรค์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้และในสังคม ตลอดจนการเน้นการศึกษาและการนำหลักศาสนามาใช้ให้เป็นพลังในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ขยายขอบเขตพื้นที่การดำเนินงานของสภาฯ ให้ครอบคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง และรวมถึงพื้นที่อื่นที่สามารถประกอบกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสภาฯ ในระดับประเทศและนานาชาติด้วย จึงเห็นได้ว่า กิจกรรมของสภาฯ จะขยายให้กว้างขึ้นในระดับการนำสันติภาพและการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศด้วย ดังนั้น งานของสภาฯ ในปลายปีนี้ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสานเสวนาระหว่าง IRC (Srilanka) กับ IRC (Thailand) และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากประสบการณ์ สถานการณ์ และบทเรียนของแต่ละฝ่ายที่จะนำสันติภาพมาสู่สังคม การประชุมแลกเปลี่ยนครั้งนี้ จะเป็นการเปิดตัวสภาฯ อย่างเป็นทางการในระดับชาติและเป็นการสื่อสารกับสังคมในประเด็นสันติภาพอีกด้วย
งบประมาณของการดำเนินงานของสภาฯนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก WCRP (The World Conference of Religions for Peace) ที่ประชุมเสนอให้ขอทุนสนับสนุนจากเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย เพื่อการมีส่วนร่วมกับงานของสภาฯ สภาฯจะมีสถานภาพในฐานะเป็นสาขาหนึ่งของ WCRP โดยมีศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสำนักงานและทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการ สภาฯจะไม่ดำเนินงานในรูปแบบมูลนิธิเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเป็นอิสระในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านสันติภาพให้มากที่สุด
งานของสภาฯมุ่งเน้นในการทำกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายที่ทำงานทางศาสนาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับทุกศาสนา โดยรวมทั้งผู้นำศาสนา เยาวชน สตรี ฯลฯ ร่วมเรียนรู้ร่วมกันระหว่างศาสนา ในการนี้ สภาฯวางแผนที่จะสื่อสารกับสังคมที่สะท้อนความเข้าใจระหว่างศาสนาเพื่อสันติภาพ ในรูปของสิ่งพิมพ์ และเอกสารตำราในโอกาสต่อไป
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ที่ประชุมสภาฯได้พิจารณา ได้แก่ การปฏิบัติการในการสื่อสารกับสังคมอย่างทันท่วงที เพื่อขจัดอคติและความเข้าใจผิดที่อาจมีกลุ่มบุคคลใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือให้เกิดความแตกแยก ความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน เช่น ในกรณีที่มีการล่วงเกินต่อศาสนสถาน ศาสนวัตถุและศาสนบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า สภาศาสนสัมพันธ์จะใช้เครือข่ายในชุมชนเพื่อตรวจสอบข่าวเหตุการณ์ การให้ข่าว ให้ข้อเท็จจริงจากพื้นที่ให้มากที่สุด และนำเสนอกรรมการสภาฯเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างศาสนาให้มีการสื่อสารต่อสังคมฯ อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดความหวาดระแวงระหว่างศาสนา จนอาจกลายเป็นความรุนแรงระหว่างศาสนาได้ในที่สุด
กิจกรรมของสภาฯภายหลังการเสร็จสิ้นการประชุมในวันแรกนี้ คือ การเดินทางไปเยี่ยมเยียนพบปะพูดคุยกับพระสงฆ์และชาวบ้านผู้ประสบเหตุการณ์ความรุนแรง ณ วัดคลองทรายใน หมู่ 5 ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา ณ ชุมชนชาวพุทธแห่งนั้น กรรมการของสภาฯ จากศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกซ์ ได้แนะนำตัวและวัตถุประสงค์ในการมาเยี่ยมเยียน พร้อมกับให้กำลังใจและผนึกพลังให้ชาวบ้านและพระสงฆ์ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงได้มั่นใจว่า บุคคลากรทางศาสนาจะไม่ทอดทิ้งและจะร่วมมือกันเพื่อใช้วิถีทางทางศาสนาของตนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง ให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินของชุมชนศาสนาให้มากที่สุด
หลังจากนั้น พระสมุห์คล่อง เจ้าอาวาสวัดคลองทรายใน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านได้เล่าถึงความเป็นมาของชุมชนพุทธแห่งนี้ ตลอดจนความรุนแรงและผลกระทบที่ได้รับ มีคำถามจากชาวบ้านที่ถามกรรมการสภาฯ ที่สะท้อนความกังวลของชุมชนว่าสันติภาพคืออะไร ทำอย่างไรชุมชนที่เคยสงบสุขจะปลอดภัยจากความรุนแรงเช่นนี้ได้
ในวันรุ่งขึ้น กรรมการสภาฯได้เดินทางไปเยี่ยมพี่น้องมุสลิม ณ มัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ได้พบกับคอเต็บ ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน กลุ่มผู้หญิงที่สามีและบุคคลในครอบครัวถูกฆ่าตายขณะทำละหมาด และผู้บาดเจ็บที่ถือไม้เท้ามาร่วมพูดคุยกับกรรมการสภาฯ ในวันนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยการให้กำลังใจ และการยกคำสอน คำแนะนำของแต่ละศาสนามาเป็นแง่คิดให้ทุกคน อดทน มั่นคง เพื่อแสดงความศรัทธาต่อคำสอนของศาสนาของตน ชาวบ้านหลายคนได้สื่อสารด้วยภาษามลายูจากใจเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของตน
การยี่ยมเยียนชุมชนศาสนาทั้งสองแห่งนี้ ถือเป็นภารกิจหลัก และเป็นกิจกรรมสำคัญของสภาศาสนสัมพันธ์ที่ลงพื้นที่เพื่อ “ฟังด้วยใจ” เพื่อก้าวพ้นความแตกต่างในทางศาสนา และเพื่อส่งสัญญาณของความร่วมมือระหว่างศาสนาที่พวกเราจะไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อมีการก้าวล่วงความปลอดภัยของศาสนชุมชนทั้งหลาย กรรมการสภาฯได้นำเงินจำนวนหนึ่งมอบให้ชุมชนทั้งสองแห่งเพื่อเป็นกำลังใจในเบื้องต้น กำลังหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ของ จ.ยะลาและนราธิวาสได้ร่วมต้อนรับคณะกรรมการสภาฯด้วยความเข้มแข็ง พวกเราขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ความมือร่วมใจของผู้นำศาสนาและศาสนิกชนของหลายๆ ศาสนาที่ร่วมทำงานในนามของสภาศาสนสัมพันธ์นี้ เป็นการเริ่มต้นของ “จิตอาสา” ที่พร้อมที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงอคติระหว่างกันให้มากขึ้น สังเกตได้จากบรรยากาศการพูดคุยในระหว่างการเยี่ยมเยียนชุมชนทั้งสองเป็นไปด้วยความผ่อนคลาย และเป็นกันเองของผู้คนที่มาจากความเชื่อต่างกัน แต่เขาเหล่านั้นได้แสดง “การเคารพต่อความเป็นมนุษย์ผู้มีความแตกต่าง” ของกันและกัน เพื่อร่วมทำงานนำสันติสุขมาสู่สังคมไทยอีกช่องทางหนึ่ง
การยี่ยมเยียนชุมชนศาสนาทั้งสองแห่งนี้ ถือเป็นภารกิจหลัก และเป็นกิจกรรมสำคัญของสภาศาสนสัมพันธ์ที่ลงพื้นที่เพื่อ “ฟังด้วยใจ” เพื่อก้าวพ้นความแตกต่างในทางศาสนา และเพื่อส่งสัญญาณของความร่วมมือระหว่างศาสนาที่พวกเราจะไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อมีการก้าวล่วงความปลอดภัยของศาสนชุมชนทั้งหลาย กรรมการสภาฯได้นำเงินจำนวนหนึ่งมอบให้ชุมชนทั้งสองแห่งเพื่อเป็นกำลังใจในเบื้องต้น กำลังหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ของ จ.ยะลาและนราธิวาสได้ร่วมต้อนรับคณะกรรมการสภาฯด้วยความเข้มแข็ง พวกเราขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ความมือร่วมใจของผู้นำศาสนาและศาสนิกชนของหลายๆ ศาสนาที่ร่วมทำงานในนามของสภาศาสนสัมพันธ์นี้ เป็นการเริ่มต้นของ “จิตอาสา” ที่พร้อมที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงอคติระหว่างกันให้มากขึ้น สังเกตได้จากบรรยากาศการพูดคุยในระหว่างการเยี่ยมเยียนชุมชนทั้งสองเป็นไปด้วยความผ่อนคลาย และเป็นกันเองของผู้คนที่มาจากความเชื่อต่างกัน แต่เขาเหล่านั้นได้แสดง “การเคารพต่อความเป็นมนุษย์ผู้มีความแตกต่าง” ของกันและกัน เพื่อร่วมทำงานนำสันติสุขมาสู่สังคมไทยอีกช่องทางหนึ่ง
No comments:
Post a Comment